การตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งเต้านม

การตรวจติดตามมะเร็งเต้านม โดยทั่วไปเป็นการตรวจสอบในการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านม ซึ่งมีหลายลักษณะด้วยกัน ทั้งที่เต้านมหรือลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ ต่อมน้ำเหลืองที่ไหปลาร้า ที่คอหรือไปที่อวัยวะอื่นๆ นอกจากนี้ยังต้องตรวจดูว่ามีมะเร็งอย่างอื่นหรือไม่ รักษาแล้วมี อาการแทรกซ้อนจากการรักษาที่เป็นผลระยะยาวกับผู้ป่วยหรือไม่

รวมถึงการติดตามสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยเป็นอย่างไร โดยมีการตรวจติดตามดังนี้ 1. ช่วง 3-4 ปีแรก ผู้ป่วยควรมารับการตรวจร่างกายโดยแพทย์อย่างน้อยทุก 3-6 เดือน แพทย์จะทำการตรวจที่เต้านมว่าคลำได้ก้อน รักแร้มีต่อมน้ำเหลือง คลำไหปลาร้าทั้งสองข้าง คลำที่ต้นคอว่ามีต่อมน้ำเหลืองโตหรือไม่ รวมถึงการตรวจตับ ฟังเสียงปอด และตรวจสุขภาพโดยรวม 2. ถ้าผลตรวจสุขภาพโดยรวมดี จะทำการตรวจ Mammogram และ Ultrasound โดยปกติการทำ Mammogram และ Ultrasound จะไม่ทำทันทีหลังการรักษาจบ ต้องรอประมาณ 6 เดือน Mammogram และ Ultrasound จะตรวจปีละ1 ครั้ง 3. เจาะเลือด การเจาะเลือดมีหลายชนิด โดยทั่วไปเจาะเพื่อตรวจดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด หน้าที่การการทำงานของตับ การเจาะเลือดสำหรับเรื่องมะเร็งเต้านมไม่ได้มีการกำหนดความถี่ในการเจาะเลือดตรวจ ถ้าผู้ป่วยมีการตรวจสุขภาพประจำปีแล้ว หากมีการเจาะเลือดไม่จำเป็นต้องเจาะซ้ำ มีคนไข้หลายท่านสอบถามว่าจำเป็นต้องตรวจสารบ่งชี้มะเร็งได้หรือไหม สำหรับการตรวจนี้อาจไม่จำเป็น 4. X-ray ผู้ป่วยหลายคนอาจจะขอเอกซเรย์ เพื่อตรวจดูการทำงานตับปอดว่ามีความผิดปกติหรือไม่ การทำ PET Scan ในความเป็นจริงนั้นยังไม่มีหลักฐานว่าเป็นประโยชน์ต่อการตรวจติดตาม ในมาตรฐานทั่วไปของการตรวจพิเศษ ถ้าผู้ป่วยไม่ได้มีอาการอะไรที่น่าสงสัย ไม่มีความจำเป็นที่ต้องตรวจ

Scroll to Top