การตรวจคัดกรองปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคไทรอยด์

ภาวะไทรอยด์เป็นพิษหรือผิดปกติ มักจะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายประมาณ 9-10 เท่า โดยเฉพาะในช่วงอายุ 20-40 ปี ปัจจุบันสามารถตรวจคัดกรองได้โดยมีหลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรควิธีที่ง่ายที่สุดคือการตรวจเลือดเพื่อเช็คการทำงานของต่อมไทรอยด์และการเผาผลาญ ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่งที่อยู่บริเวณส่วนหน้าของลำคอ

มีน้ำหนักประมาณ 20 กรัม ลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อ ทำหน้าที่ผลิตและหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือด จากนั้นส่งไปออกฤทธิ์ที่อวัยวะต่างๆของร่างกาย ซึ่งจะอยู่ภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมองและต่อมไฮโปธาลามัส โดยร่างกายจะมีระบบการควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์อย่างดี เพื่อรักษาระดับไทรอยด์ฮอร์โมนให้อยู่ในเกณฑ์ปกติตลอดเวลา ไทรอยด์ฮอร์โมนมีความสำคัญในการกระตุ้นให้อวัยวะต่างๆทั่วร่างกายทำงาน โดยเฉพาะหัวใจและสมอง นอกจากนี้ยังควบคุมระบบการเผาผลาญของเซลล์ต่างๆ ระดับไขมันในเลือด ระบบย่อยอาหาร การควบคุมอุณหภูมิร่างกาย การทำงานของกล้ามเนื้อ หรือแม้แต่มีผลต่อความแข็งแรงของผิวหนัง ผม เล็บ ด้วย ดังนั้นหากมีความผิดปกติของไทรอยด์ ก็จะส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆของร่างกายทำให้เกิดความผิดปกติตามมา โรคของต่อมไทรอยด์ 1.กลุ่มโรคต่อมไทรอยด์โตแบบเป็นพิษ หรือทำงานมากเกินไป แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ชนิดโตทั่วไป (Graves’disease), ไทรอยด์เป็นพิษชนิดก้อนตะปุ่มตะป่ำ(Toxic multinodular), ไทรอยด์เป็นพิษชนิดก้อนเดี่ยว (Toxic nodule) ปัจจุบันเชื่อว่า ร่างกายมีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้มีการสร้างสารแอนติบอดีต่อตนเอง ซึ่งสารนี้ก็ไปกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้น ก็จะสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนมากขึ้น ผู้ป่วยจึงมีระดับไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เซลล์ในร่างกายทำงานมากขึ้นและเร็วขึ้น กระบวนการเมตาบอลิสมสูงขึ้น

Scroll to Top